แร่แบไรต์ (Barite)

 

ชื่อแร่- มาจากภาษากรีกแปลว่า Heavy หรือ หนักเนื่องจากเป็นแร่ที่มี ถ.พ.สูง

 

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ -ระบบผลึกแบบออร์โธรอมบิก(Orthorhombic) มักเกิดเป็นแผ่นหนายาว ผลึกแฝด รูปดอกกุหลาบเรียกว่า (Barite roses) หรือ(Crested barite) หรืออาจเกิดเป็น มวลเมล็ด   ความวาว คล้ายแก้ว หรือเนื้อด้านคล้ายดิน ความแข็งตามมาตรของโมร์ ( Moh's scale) เท่ากับ 3.0 -3.5 ถ.พ. 4.5 จัดเป็นแร่อโลหะที่หนักผิดปกติ รอยแนวแตกเรียบ(Clevage) เด่นและสมบูรณ์ หนึ่งแนว ส่วนอีกแนวไม่สมบูรณ์นัก รอยแตก แบบก้นหอย ปกติจะมีสีขาวหรือใสไม่มีสีแต่หากมีมลทิลอาจมีสีต่างๆได้เช่น สีเหลือง แดง น้ำตาล น้ำเงิน เขียว และสีเทาเป็นต้น ผงละเอียดสีขาว เนื้อโปร่งใสจนถึงโปร่งแสง

 

ผลึกแร่แบไรต์

แร่แบไรต์รูปใบมีด

แร่แบไรต์

ผลึกแร่แบไรต์

 

คุณสมบัติทางเคมี -  Barite (BaSO4 :Barium Sulfate) มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นแบเรียมซัลเฟต (BaSO4) มี BaO65.7%  SO3 34.3 % อาจมีธาตุตะกั่วหรือสตรอนเทียมแทนที่แบเรียมได้ เมื่อคะเนด้วยมือจะรู้สึกหนักผิดปกติต่างไปจากแร่ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดเท่าๆ กัน

 

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ –แร่แบไรต์ (Barite) มี ถ.พ. สูงสังเกตจากเมื่อยกดูรู้สึกหนักตึงมือ ผลึก Barite มักเป็นแผ่นหนาๆ Tabular หรือเป็นรูปแท่งเหลี่ยมๆ (Orthorhombique) หรือเป็นมวลเมล็ด เอามีดขีดเป็นรอย

ผลึก Barite มักเป็นแผ่นหนาๆ Tabular

 

การกำเนิด - แร่แบไรต์ในประเทศไทย พบเกิดเป็นสายแร่แทรกในบริเวณที่มีรอยแตกหรือรอยเลื่อน โดยมีความสัมพันธ์กับหินแกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอรัสและไทรแอสซิก ซึ่งพบมากทางภาคตะวันตกของประเทศ นอกจากนี้ยังพบแร่แบไรต์เกิดร่วมกับแร่ตะกั่วและสังกะสีในหินปูนหินดินดานและหินทรายในบริเวณภาคเหนือและ ภาคกลาง ในต่างประเทศ มักเกิดอยู่ร่วมกับแร่ Calcite, Fluorite, Chalcopyrite, Cerussite, Gypsum, Anhydrite, Dolomite, Quartz, Apatite, Aragonite, Sulfur

 

แหล่ง

ในประเทศ แร่แบไรต์พบที่ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ อุดรธานี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน ตาก นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และราชบุรี

             ต่างประเทศ พบมากที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน โรมาเนีย สเปน นอรเวย์ กรีก ออสเตรเลีย จีน คองโก อียิป แคนนาดา เบลเยียม บราซิล เปรู เม็กซิโก มอร็อกโค นามีเบีย

 

ประโยชน์

 

            ส่วนใหญ่ประมาณ 98% ของผลผลิตแร่แบไรต์ใช้ในการทำเป็นโคลนผงใช้ในการเจาะสำรวจแหล่งแร่และปิโตรเลียม โดยเป็นตัวควบคุมความดันในการเจาะ นอกจากนั้นยังใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตโลหะแบเรียม ทำสารเคมีแบเรียมต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เช่น แบเรียมซัลเฟตใช้ทำสี ในอุตสาหกรรมกระดาษ ยาง และพรมน้ำมัน แร่แบไรต์บดละเอียดมากใช้ทำเนื้อสีขาว แบเรียมคลอไรด์ใช้ในโรงงานทำหนัง เสื้อผ้า แบเรียมคาร์บอเนตใช้เป็นส่วนผสมการเคลือบเงาเซรามิก แบเรียมออกไซด์ใช้ในการทำแก้วและการถลุงด้วยไฟฟ้า แบเรียมไฮดรอกไซด์ใช้ผลิตน้ำตาล และใช้ผสมทำคอนกรีตสำหรับพอกท่อส่งน้ำมันและแก๊สใต้ทะเล ทำยาสำหรับรับประทานก่อนที่จะทำการฉายเอกซเรย์เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ 

            วัสดุทดแทน- ในอุตสาหกรรมการเจาะสำรวจปิโตรเลียมมีการใช้วัสดุทดแทนแร่ไรต์ได้แก่ แร่เซเลไซต์ (Celestine) แร่อิลเมไนต์ (Ilmenite) แร่เฮมาไทต์ (Hematite) สังเคราะห์ ซึ่งมีการผลิตใช้ที่ประเทศเยอรมัน แต่ปริมาณไม่มากนัก

 

ผลผลิต

ในปี พ.ศ.  2546 มี การผลิตแร่แบไรต์ ประมาณ 115,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นแร่ก้อน (มีแร่บดประมาณ 5,000 ตัน) การผลิตที่จังหวัด เลย และนครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ พะเยา อุดรธานี และกาญจนบุรี มีประทานบัตรที่ยังมีอายุอยู่ทั้งหมด 10 แปลง หยุดการ 2 แปลง

ราคา ประกาศ แบไรต์ก้อน ตันละ 1,485 บาท ค่าภาคหลวง 7 % หรือ ตันละ 104 บาท   ราคาแบไรต์ในตลาดอเมริกาปี 2003 (Barite Statistics and Information) ประมาณ ตันละ 28 เหรียญสหรัฐ ผลผลิตทั่วโลก  ประมาณปีละ 6 ล้านตันในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากประเทศจีน

รูปแร่แบไรต์สวยๆจาก Website

Barite Gallery

mineral.byname-b.

www.gamineral.org/ members-photo-jcg.htm

Barite in USA_Minerals

Crystal

BACK