แร่เซอรูสไซต์ (Cerussite)

 

ชื่อแร่- มาจากภาษาลาติน “cerussa” หมายถึงตะกั่วขาว

 

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ –  รูปผลึกระบบออร์โรอมบิก (Orthorhombic - Dipyramidal) มักพบเป็นผลึกแผ่นหนาๆ (Tabular) เป็นมวลเมล็ด(Granular )จับเกาะกันเป็นกลุ่ม เนื้อสมานแน่น เป็นรังตาข่าย(Reticulated)  ผลึกแฝด (Twin) สีขาว สีเขียว สีน้ำตาล สีน้ำเงิน ไม่มีสี หรือสีเทา ความแข็งตามมาตรของโมร์ (Moh’s scale) เท่ากับ 3 - 3.5   ถ.พ. 6.55  รอยแยกแนวเรียบ 3 แนวชัดเจน ความวาวคล้ายเพชร หรือด้านคล้ายดิน ผงละเอียด(Streak) สีขาว

 

Bipyramidal Cerussite crystal

 

คุณสมบัติทางเคมี  - Cerussite (Lead Carbonate) สูตรเคมี PbCO3 มี PbO 83.5 % CO2 16.5 %

 

Cerussite (reticulated)

 

ลักษณะเด่นและวิธีการตรวจ –ดูผลึก สีขาว วาวคล้ายเพชร หนักผิดปกติ ทำปฏิกิริยากับกรดดินประสิวอุ่นๆ เป็นฟองฟู่

 

การกำเนิด – เป็นแร่ตะกั่วที่เกิดแบบทุติยภูมิเกิดจากการทำปฏิกิริยาของน้ำคาร์บอเนตกับแร่กาลีนาในส่วนบนๆของสายแร่ตะกั่ว สังกะสี (sphalerite)  แร่กาลีนา (Galena) และแร่ทุติยภูมิอีกหลายชนิดเช่น แองกลีไซต์ (Anglesite) ไพโรมอร์ไฟต์ (pyromorphite) ซิเดอร์ไรต์ (Siderite) สมิธโซไนต์ (smithsonite) และไลโมไนต์ (limonite)

 

Cerussite from  Morocco

 

แหล่ง  - ประเทศไทย พบที่แหล่งแร่สายตะกั่วจังหวัดกาญจนบุรี และตาก พบในแหล่งแร่ดีบุกแบบหินแปรสัมผัส (Contact metamorphism) ที่อำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลา

          ต่างประเทศ พบมากที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (Arizona) ออสเตรเลีย จีน นามีเบีย คองโก มอร็อคโค สวีเดน สเปน สหราชอาณาจักร พม่า ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี กรีก ญี่ปุ่น

 

Cerussite (Twin)

 

ประโยชน์ –เป็นสินแร่สำคัญอันดับรองที่นำมาถลุงเอาโลหะตะกั่ว

 

Cerussite Gallery

BACK