แร่โดโลไมต์ (Dolomite  )

 

ชื่อแร่ – ตั้งตามชื่อนักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ Deodat de Dolomieu (1750-1801) 

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ –รูปผลึก ระบบไตรโกนอล (Trigonal ) มักเกิดเป็นมวลเมล็ด เนื้อสมานแน่น มักเกิดเป็นผลึกแฝด (Twinning)  มีหลายสีเช่น สีชมพู สีน้ำตาล สีขาว สีน้ำตาลปนแดง สีเทา ผงละเอียด (Streak) สีขาว ความวาว คล้ายแก้ว หรือด้านคล้ายดิน มีความแข็งตามมาตรของโมร์ (Moh’s scale) เท่ากับ 3.5 –4  ถ.พ. 2.8-2.9 รอยแตกคล้ายก้นหอยแต่ไม่ค่อยพบเนื่องจากมักมีรอยแยกแนวเรียบสามทิศทางเห็นชัดเจน

 

Click Here for Larger Dolomite Image

Dolomite

คุณสมบัติทางเคมี – DOLOMITE  (Calcium Magnesium Carbonate) สูตรเคมี (CaMg(CO3)2)  มี CaO 30.41 %  MgO 21.86 %  CO2   47.73 % ละลายในกรดเกลือร้อน อย่างช้าๆ

Cobaltian Dolomite

 

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ – มีรอยแยกแนวเรียบชัดเจน ดูสี ดูสีผงละเอียดผงละเอียด สี เนื้อโปร่งแสง ความแข็ง และการทำปฏิกริยากับกรด

 

การกำเนิด-  เป็นแร่สำคัญที่พบในหินตะกอน และหินแปร (Sedimentary 21  and metamorphic mineral) นอกจากนี้ยังพบในแหล่งสายแร่ที่เกิดจากน้ำร้อน ที่มีการตกตะกอนในช่องว่าง (forming crystals in cavities) มักเกิดร่วมกับหินปูน Calcite  Sphalerite Baryte  Galena Fluorite 

 

แหล่ง   

- ประเทศไทย มักเกิดในแหล่งหินปูน 2 พบที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี84  นครศรีธรรมราชกาญจนบุรี ตรัง ตาก ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี กระบี่ ชุมพรและเพชรบูรณ์ เป็นต้น

          ต่างประเทศ พบมากที่ ประเทศ อิตาลี ออสเตรเลีย ออสเตรีย อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกต สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล เปรู อาเจนตินา จีน ญี่ปุ่  บัลกาเรีย คาซักสถาน โรมาเนีย แคนนาดา และซาอี เป็นต้น

 

Sphalerite

Sphalerite crystals on Dolomite 

 

ประโยชน์ เป็นสินแร่สำคัญที่ให้ธาตุแมกนีเซียมเพื่อใช้ในการเกษตรเช่นใช้ปรับสภาพดินและให้ธาตุแมกนีเซี่ยม ใช้ในนากุ้ง ใช้ในการถลุงเหล็ก และใช้ในอุตสาหกรรมยา

 

Dolomite Gallery

 

 

BACK

Click Here to get Free Counter