แร่ฟลูออไรต์ (Fluorite)
หรือฟลูออสปาร์ (Fluorspar)
ชื่อแร่
ตั้งชื่อจากส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งประกอบด้วยธาตุฟูออรีน
(fluorine) รากฐานดั้งเดิมมาจากภาษาละติน Fluere หมายถึง การไหล (To Flow) เพราะเหตุที่แร่ ชนิดนี้หลอมละลายได้ง่ายกว่าแร่อื่นบางตัว
แร่ฟลูออไรต์บางชนิดหรือบางแหล่งเรืองแสงได้ (Fluorescence)
คำว่า Fluorite จึงแปรเปลี่ยนมาจากคำว่า Fluorescence
นั่นเอง
แร่ฟลูออไรต์
เกิดร่วมอยู่กับแร่กาลีนา (Galena)
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ - รูปผลึกระบบไอโซเมทริก รูปผลึกมักจะพบเกิดในลักษณะรูปลูกเต๋า
หรือเกิดเป็นลูกเต๋าสองลูกฝังซ้อนกันเป็นผลึกแฝด (Twinning) หรืออาจเกิดในลักษณะเนื้อแน่นหรือแบบมวลเมล็ด
เกาะอัดกันแน่นซึ่งมีทั้งแบบที่เกิดเป็นชั้น ๆ เหมือนขนมชั้น
อาจจะเป็นชั้นที่มีเนื้อฟลูออไรต์ล้วน ๆ แต่ต่างสีกัน หรือชั้นของฟลูออไรต์สลับกันเอง
หรือกับควอรตซ์เนื้อเนียนละเอียดก็ได้ หรือมีเนื้อเหมือนน้ำตาลทราย หรือมองดู
คล้ายหินทราย โดยทั่วไป
อาจมีเนื้อเนียนละเอียดยิบซึ่งมองดูคล้ายควอรตซ์หรืออาจเกิดในลักษณะเป็นลูก ๆ
เหมือนพวงองุ่น (Bortyoidal)
ฟลูออไรต์
มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 4 ทาง ซึ่งเมื่อแตกออกมาแล้ว จะมีลักษณะเหมือน
รูปปิรามิดประกบกัน 2 ด้าน อาจทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นรูปผลึกที่แท้จริงได้ แข็ง 4
ค่า ถ.พ. แปรเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 3.01-3.26 บางครั้งอาจจะสูงได้ถึง 3.6
เนื่องจากมีธาตุอิตเทรียม Yttrium
และซีเรียม Cerium รวมอยู่ด้วย โดยปกติ
ส่วนใหญ่มักจะมีควอรตซ์ปะปน วาวคล้ายแก้ว สีผงละเอียดของแร่สีขาว
โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งแสง มีหลายสี เช่น สีขาว เขียวอ่อน เขียวมรกต เหลืองอมน้ำตาล
น้ำเงินอมเขียว น้ำเงินคล้ำค่อนข้างดำ และสีม่วง
พวกที่มีเนื้อสมานแน่นมักจะมีแถบสีสลับกันให้เห็นเป็นชั้น ๆ
คุณสมบัติทางเคมี - สูตรเคมี CaF2 (Calcium
Fluoride) จัดอยู่ในกลุ่มแร่ เฮไลด์ (The Halides Class) มี Ca 51.3% F 48.7% บางตัวอย่างอาจมีธาตุหายากรวมอยู่ด้วย
โดยเฉพาะธาตุ Yttrium และ Cerium ซึ่งเกิดเข้าแทนที่ธาตุแคลเซียม
ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ - หากพบเกิดเป็นผลึกจะมีลักษณะเหมือนลูกเต๋า หรืออาจเกิด
เป็นแบบ ผลึกแฝด มีแนวแตกเรียบ 4 แนวไม่ตั้งฉากกัน ทำให้เห็นเป็นรูปปิรามิดสองอันประกบกัน
เอามีดขีดดูจะเป็นรอย หรือนำฟลูออไรต์ ไปขีดแก้วดูจะขีดไม่เข้า ผิดกับควอรตซ์ซึ่งขีดกระจกเข้า
หากในเนื้อฟลูออไรต์ มีควอรตซ์ฝังประกระจายก็ทำให้ยุ่งยาก
ต่อการตรวจความแข็งและทำให้เข้าใจผิดได้ โดยปกติหยดกรดเกลือลงไปจะไม่ฟู่
ซึ่งเป็นข้อแตกต่าง กับหินปูน หรือแคลไซต์ แต่ในบางครั้ง
ฟลูออไรต์ก็อาจเกิดรวมอยู่กับหินปูน จึงฟู่กับกรดได้ใส่กรดกำมะถันเข้มข้น และร้อน
จะสลายตัวให้ควันของกรดเกลือ (อันตรายมาก) วิธีตรวจอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสารละลาย Sodium Alizarin Sulphonate (Co. C6 H4.Co.C6H (OH)2 SO3 N)
ซึ่งมีสีเหลืองผสมกับสารละลาย Zirconium Nitrate ในกรดเกลือจะทำให้สารละลายผสมมีสีม่วงแดง
ถ้าเอาสารละลายนี้ไปบนฟลูออไรต์ ทิ้งไว้สักครู่ สารละลายที่ใส่ลงไป
จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แสดงว่าตัวอย่างนั้นเป็นฟลูออไรต์
การเกิด
- แร่ฟลูออไรต์พบเกิดได้หลายแบบ เช่น แบบสายแร่ ในรูปของแร่จำนวนน้อยในสายแร่ที่เกิดจากน้ำร้อน(Hydrothermal veins)
โดยเฉพาะมักเกิดอยู่ร่วมกับแร่ตะกั่วชนิด galena สังกะสี (sphalerite) แบบกรรมวิธีของก๊าซ (Pneumatolytic deposits)
แทนที่ในหินท้องที่ เช่น หินปูน หินดินดาน และหินทราย เป็นต้น
แบบที่เกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายหิน เพกมาไทต์ (Pegmatite) ใน ไกรเซน (Greisens) หรือเป็นแร่ประกอบหินในหินอัคนี
หรือหินแปรเช่นหินอ่อน calcite marcasite
amethyst
pyrite
apatite
barite
และแร่ในตระกูล
sulfides อื่นๆ
แหล่ง
- ในประเทศไทย
นับว่าเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง ได้พบในบริเวณ จังหวัด เชียงใหม่
ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์
อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และกระบี่ เคยมี ประทานบัตร
และแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อยและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอพนมทวน
จังหวัดกาญจนบุรี และที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- ต่างประเทศ พบในประเทศเยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศส อังกฤษ
สเปน อิตาลี แคนาดา เม็กซิโก (Mexico
ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฟลูออไรต์รายใหญ่ที่สุดของโลก) สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ชิลี สหภาพ-แอฟริกาใต้ ตูนิเซีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย และญี่ปุ่น ผลผลิตแร่ฟลูออไรต์หลักๆของโลกสามารถศึกษาได้ที่
USGS
ประโยชน์ - ใช้เป็น Flux ในการถลุงเหล็กเพื่อช่วยให้สิ่งเจือปนในเหล็ก
เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส หลอมตัวเข้าไปรวมในตะกรันและช่วยให้ตะกรันไหลได้ง่ายด้วย
ใช้ในการทำ Opalescent glass ทำกรดไฮโดรฟลูออริก (HF)
ใช้ในอุตสาหกรรมทำอะลูมิเนียม ทำอุปกรณ์ทางกล้องจุลทรรศน์
ใช้ผสมทำวัสดุเคลือบเหล็กและเหล็กกล้า ใช้ผสมก๊าซพวก Freon นับว่าเป็นก๊าซที่สำคัญ
ใช้ในเครื่องทำความเย็นแบบต่าง ๆ ซึ่งไม่มีพิษเมื่อเกิดการรั่วขึ้นมา
และอุตสาหกรรมผลิตแก้วชนิดต่าง ๆ ฯลฯ ในปัจจุบัน แร่ฟลูออไรต์ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้ามากที่สุด
รองลงมาก็เป็นอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรม ผลิตอะลูมิเนียม
และอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผลิตเป็นรัตนชาตราคาคาไม่แพง
นำมาแกะสลักพระหรือรูปอื่นๆ เชื่อกันว่าพระแก้วมรกตแกะสลักขึ้นมาจากแร่ชนิดนี้
แร่ฟลูออไรต์เป็นรัตนชาติราคาต่ำ
ราคา - ราคา ประกาศของแร่ฟูออไรต์ ปี พ.ศ.
2546 (2003) ตันละ 4,065 บาท คิดค่าภาคหลวง 7 % หรือตันละ 284 บาท
ราคาแร่ฟูออไรต์ที่ตลาดสหรัฐอเมริกา เกรดโลหะ ราคา CIF ตันละ 85 $US เกรดเคมี (Acid grade)
ประมาณตันละ 165-170 US$
ปริมาณการผลิตแร่ฟลูออไรต์ที่สำคัญในปี
2003
ประเทศ |
ปริมาณการผลิต(ตัน) |
จีน |
2,650,000 |
เมกซิโก |
730,000 |
อาฟริกาใต้ |
235,000 |
มองโกเลีย |
190,000 |
สเปน |
130,000 |
รัสเซีย |
170,000 |
ฝรั่งเศส |
105,000 |
เคนยา |
100,000 |
มอรอคโค |
75,000 |
นามีเบีย |
79,000 |
สหราชอาณาจักร |
60,000 |
อิตาลี |
45,000 |
บราซิล |
43,800 |
อิหร่าน |
32,000 |
เยอมัน |
30,000 |
เกาหลีเหนือ |
25,000 |
ไทย |
2,360 |