แร่ไพไรต์ (Pyrite)

 

ชื่อแร่  มาจากภาษากรีก (pyr) แปลว่าไฟ เพราะเมื่อนำไปตีกระทบกับเหล็กกล้าจะเกิดประกายไฟ สีของแร่ชนิดนี้บางครั้งคล้ายทองคำมากจนทำให้ผู้พบเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทองบ่อยๆ จึงมีฉายาว่า ทองคนโง่ (Fool's Gold)

 

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ – รูปผลึกระบบไอโซเมตริก มักพบเกิดเป็นรูปผลึกคล้ายลูกเต๋า เกิดเป็นมวลเมล็ด (Granular) หรือเนื้อสมานแน่น ผิวเรียบเป็นมันสีทองเหลือง มีความแข็งของสเกลมอร์เท่ากับ 6 - 6.5 ถ.. 5.0 ความวาวคล้ายโลหะ ผงละเอียดสีดำออกเขียว มีร่องขนานถี่ (Striation) บนผิวหน้าผลึกชัดเจน

 

แร่ไพไรต์

คุณสมบัติทางเคมี  - สูตรเคมี FeS2  มี Fe 46.5 % อาจมีสารหนู ทองแดง นิเกิล โคบอลต์ และทองคำ ปนอยู่ด้วยเล็กน้อยเสมอ เวลาเผาไฟจะได้กลิ่นก๊าซ SO4 คล้ายกลิ่นกระเทียม

 

ลักษณะเด่นและวิธีการตรวจ – ดูรูปผลึกรูปลูกเต๋าเด่นชัด Pyrite สีคล้ายโลหะทองเหลือง ผงละเอียดสีเขียวออกดำ ต่างจากทองคำตรงที่เปราะร่วนและแข็งกว่ามาก ละลายในกรดดินประสิวเข้มข้น 

 

การกำเนิด – เกิดเป็นสายแร่ร่วมกับแร่ซัลไฟด์ชนิดอื่น เช่นกาลีนา สติปไนต์ และพบเป็นเพื่อนแร่อยู่ในแร่ชนิดอื่นเช่นในแร่ฟลูออไรต์ แบไรต์ และ แร่โลหะพื้นฐานชนิดต่างๆ ที่เกิดจากน้ำร้อนใต้ผิวโลก (Hydrothermal Deposits)

 

แหล่ง  ประเทศไทย พบทั่วไปเกือบทุกจังหวัดที่มีหินหรือมีภูเขาหินตั้งอยู่นับว่าเป็นแร่ธรรมดาที่สุดชนิดหนึ่ง            

         ต่างประเทศพบมากที่ประเทศอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี และ สเปน

 

ประโยชน์ แร่ Pyrite ที่มีผลึกและสีสวยๆนำมาขายเป็นตัวอย่างแร่ หรือของที่ระลึก หรือรัตนชาติราคาถูกได้ ในบางพื้นที่นำไปทำเครื่องรางของขลังเรียกว่าเพชรหน้าทั่ง เนื่องจากมีสีขาวและส่องประกายวาวคล้ายเพชร

(Pyrite Gallery)

'คนรักหิน'

rockhut