แร่ดีบุก
ชนิดแคสสิเทอไรต์ ( Cassiterite
)
ชื่อแร่ มาจากภาษา กรีก Karsiterous หมายถึง Tin
stone หรือหินแร่ดีบุก
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ แร่ดีบุก
รูปผลึกระบบเตดตระโกนอล
เป็นแท่งสี่เหลี่ยมสั้นๆปลายเป็นรูปปิระมิดข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
มักพบเป็นรูปผลึกแฝดแบบข้อสอก ความแข็ง 6-7 ถ.พ. 6.8 7.1
ความวาวคล้ายเพชร มีหลายสีเช่น สีขาว สีน้ำผึ้ง เขียว เหลือง แดง น้ำเงิน น้ำตาย
ดำ ม่วง และสีดอกจำปา เป็นต้น ไม่ติดแม่เหล็ก นำไฟฟ้าได้ดี ผงละเอียดมีสีขาว
แร่ดีบุกชนิดแคสสิเทอไรต์
คุณสมบัติทางเคมี - สูตรเคมี SnO2 มี Sn 78.6 % O 21.4 % อาจมีธาตุเหล็ก โคลัมเบียม และแทนตาลัม
ปนอยู่บ้างเล็กน้อย
ลักษณะเด่นและวิธีการตรวจ สังเกตรูปผลึก ความแข็ง ถ.พ. ความวาวคล้ายเพชร ไม่ละลายในกรด
เมื่อนำไปไส่ถาดสังกะสีแล้วเทกรดเกลือลงไป
จะเห็นมีโลหะสีเทาด้านๆหุ้มอยู่รอบเม็ดแร่ดีบุก
ลักษณะคล้ายคลึงกับแร่อื่น
-
แร่ดีบุกสีดำ
คล้ายกับแร่ อิลเมไนต์ (Ilmenite)
ทัวมาลีนสีดำ (Tourmaline) รูไทต์ (Rutile)
และแร่วุลแฟรม (Wolframite
)
แต่แร่ทั้ง 4 ชนิด ติดแม่เหล็กส่วนดีบุกไม่ติดแม่แหล็ก
-
แร่ดีบุก
สีแดง คล้ายกับแร่โกเมน (garnets) แต่แร่โกเมนมักกลมมนกว่าและติดแม่เหล็ก
-
แร่ดีบุกสีเหลือง
คล้ายกับแร่โมนาไซต์ (monazite)
และ
(xenotime)
แต่ดีบุกมักมีขนาดเม็ดใหญ่กว่าและแร่โมนาไซต์ และ ซีโนไทม์ จะติดแม่เหล็กไฟฟ้า
-
แร่ดีบุกน้ำผึ้ง
คล้ายแร่สังกะสี (Zinc
Blend : sphalerite) แต่แร่ดีบุกแข็งกว่าและไม่ละลายในกรด
-
แร่ดีบุกสีใส
และสีส้มแดง คล้ายกับพลอยเพทาย หรือแร่เซอร์คอน (Zircon )
ยากต่อการจำแนกออกจากแร่ดีบุกแต่แร่เพทาย (Zircon) จะเบากว่าและไม่นำไฟฟ้า
การกำเนิด พบในสายแร่อุณหภูมิสูงในหินแกรนิต ในหินเปกมาไทต์ ในแหล่งลานแร่ (Eluvium)
มักเกิดร่วมกับแร่ชนิดอื่นๆเช่น แร่ทังสเตน(Tungsten)
tourmalines
molybdenite bismuthinite
topaz fluorite arsenopyrite
wolframite
biotite
quartz
muscovite
phlogopite
เป็นต้น
แหล่ง ประเทศไทยพบมากที่จังหวัดภูเก็ต
พังงา (พบทั้งบนบกและในทะเล) ยะลา สงขลา นครศรีธรรมราช ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี
ราชบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เชียงราย ลำปาง ตาก จันทบุรี
แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตรัง และอุทัยธานี เป็นต้น
ต่างประเทศ
พบมากที่ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว พม่า เบลเยียม ฝรั่งเศส อังกฤษ คองโก
ในจีเรีย โบลิเวีย บราซิล เม็กซิโก และเปรู
ประโยชน์ ใช้ถลุงเอาโลหะดีบุก