แร่เซอรูสไซต์ (Cerussite)
ชื่อแร่- มาจากภาษาลาติน cerussa
หมายถึงตะกั่วขาว
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ รูปผลึกระบบออร์โธรอมบิก (Orthorhombic
- Dipyramidal) มักพบเป็นผลึกแผ่นหนาๆ (Tabular) เป็นมวลเมล็ด(Granular )จับเกาะกันเป็นกลุ่ม
เนื้อสมานแน่น เป็นรังตาข่าย(Reticulated) ผลึกแฝด (Twin) สีขาว สีเขียว สีน้ำตาล
สีน้ำเงิน ไม่มีสี หรือสีเทา ความแข็งตามมาตรของโมร์ (Mohs
scale) เท่ากับ 3 - 3.5 ถ.พ. 6.55
รอยแยกแนวเรียบ 3 แนวชัดเจน ความวาวคล้ายเพชร หรือด้านคล้ายดิน ผงละเอียด(Streak) สีขาว
คุณสมบัติทางเคมี - Cerussite (Lead Carbonate) สูตรเคมี PbCO3
มี PbO 83.5 % CO2 16.5 %
ลักษณะเด่นและวิธีการตรวจ ดูผลึก สีขาว วาวคล้ายเพชร หนักผิดปกติ ทำปฏิกิริยากับกรดดินประสิวอุ่นๆ
เป็นฟองฟู่
การกำเนิด เป็นแร่ตะกั่วที่เกิดแบบทุติยภูมิเกิดจากการทำปฏิกิริยาของน้ำคาร์บอเนตกับแร่กาลีนาในส่วนบนๆของสายแร่ตะกั่ว
สังกะสี (sphalerite) แร่กาลีนา (Galena)
และแร่ทุติยภูมิอีกหลายชนิดเช่น แองกลีไซต์ (Anglesite) ไพโรมอร์ไฟต์ (pyromorphite) ซิเดอร์ไรต์ (Siderite)
สมิธโซไนต์ (smithsonite) และไลโมไนต์ (limonite)
แหล่ง - ประเทศไทย พบที่แหล่งแร่สายตะกั่วจังหวัดกาญจนบุรี
และตาก พบในแหล่งแร่ดีบุกแบบหินแปรสัมผัส (Contact metamorphism) ที่อำเภอบันนังสตาร์
จังหวัดยะลา
ต่างประเทศ พบมากที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
(Arizona)
ออสเตรเลีย
จีน นามีเบีย คองโก มอร็อคโค สวีเดน สเปน สหราชอาณาจักร พม่า ฝรั่งเศส เยอรมัน
อิตาลี กรีก ญี่ปุ่น
ประโยชน์ เป็นสินแร่สำคัญอันดับรองที่นำมาถลุงเอาโลหะตะกั่ว